เวทีเสวนา สภาองค์กรของผู้บริโภค ‘เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?’ ค้านรัฐต่อสัมปทานสายสีเขียว หวั่นกระทบผู้บริโภคขึ้นรถไฟฟ้าแพง 30 ปี
“ครม. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หนี้โครงสร้างก้อนนี้ 60,000 ล้านบาทเป็นของใคร และกทม. ได้ดำเนินการครบถ้วนตามกฎหมาย ตามระเบียบพัสดุ และได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม. หรือไม่ เพราะตามระเบียบแล้ว หากไม่ได้นำเรื่องเข้าสภา กทม. กทม. ก็จะไม่สามารถรับภาระหนี้ได้ และกรรมสิทธิ์ก็ยังต้องเป็นของ รฟม. อยู่” — ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย
“ที่ผ่านมีประเด็นที่เกี่ยวกับข้องกับรถไฟฟ้าเกิดขึ้นเยอะมาก ทั้งเรื่องหนี้ เรื่องการยกเลิกตั๋วเดือน จนทำให้ตีความไปได้ว่าอาจมี การร่วมกันสร้างสถานการณ์บางอย่าง เพื่อเอาประชาชนมาเป็นตัวประกัน และหาก ครม. มีมติเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว พรรคเพื่อไทยจะยื่นฟ้องร้องต่อศาล และยื่นเรื่องถึง ป.ป.ช. แน่นอน” — ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย
“ผมมองว่าการต่อสัญญาสัมปทานในครั้งนี้มีอะไรที่ซุกไว้เยอะ เพราะที่ผ่านมากระบวนการพิจารณาไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ทุกอย่างปิดเป็นความลับทั้งหมด เหมือนมีการปักธงไว้ก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้น คิดว่าควรยกเลิกคำสั่งตามมาตรา 44 ที่เกี่ยวกับเรื่องรถไฟฟ้า และเห็นด้วยกับกระทรวงคมนาคมที่ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน” — ดร.ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
“รัฐบาลไม่ควรนำเรื่องหนี้สิน 30,000 ล้านมาเป็นตัวประกันในการต่อสัญญา เพราะมีทางออกหลายทาง เช่นที่คมนาคมเสนอ การแก้สัญญา รัฐหางบประมาณสนับสนุนและการตั้งกองทุน ฯ ซึ่ง มีทางออกอย่างมากมาย เพียงแต่เราต้องดำเนินการทางกฎหมายให้ถูกต้องก่อน” รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3BE3Pm3
ที่มา: สภาองค์กรของผู้บริโภค